ไม่มีใครที่เข้าวงการเทรดแล้วคิดว่าจะต้องเสียเงิน แต่โชคร้ายที่มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับนักเทรดจำนวนมาก เพื่อลดการขาดทุนและปกป้องกำไรของคุณเอาไว้ การมีกลยุทธ์บริหารความเสี่ยงนั้นสำคัญมากๆ หากไม่มีมัน ก็อาจจะทำผิดพลาดจนเสียเงินจำนวนมากและอาจส่งผลกระทบต่อผลกำไรของคุณได้ กลยุทธ์บริหารความเสี่ยงที่ดีนั้นเป็นสิ่งจำเป็นซึ่งมันประกอบด้วยการกำหนดจุดตัดขาดทุนและเลือกขนาดการลงทุนให้เหมาะสมกับการเทรดแต่ละครั้ง ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยงและสรุปเคล็ดลับในการสร้างกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับคุณ ดังนั้นไม่ว่าคุณจะเพิ่งเริ่มเทรดหรือตั้งใจจะพัฒนาวิธีการในปัจจุบัน คุณก็สามารถลดโอกาสการเสียเงินได้ด้วยการทำตามขั้นตอนง่ายๆ เหล่านี้ซึ่งเราคาดหวังว่ามันจะช่วยเสริมให้ได้ผลกำไรเต็มที่ด้วย
ตั้งกฎเพื่อไม่ให้อารมณ์มาข้องเกี่ยวกับการเทรด
เหตุผลหลักที่ต้องมีกลยุทธ์การเทรดที่มีการบริหารความเสี่ยงด้วยก็คือเอาไว้หยุดตัวคุณเอง นักเทรดมักจะตัดสินใจผิดพลาดเพราะอารมณ์ความรู้สึก มากกว่าข้อเท็จจริงและกลยุทธ์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว ถึงจะเป็นแผนหรือกลยุทธ์ที่ดีที่สุดก็เกิดความผิดพลาดอย่างแน่นอน ถ้าทำตามแผนนั้นไม่ได้ และอารมณ์ก็อาจเข้ามาร่วมด้วย ดังนั้นเหตุผลที่ควรมีกลยุทธ์การเทรดที่เข้มงวดก็คือมันช่วยระบุเวลา วิธีและจุดที่คุณควรเข้า จัดการและออกจากการเทรดได้ การยึดมั่นตามแผนเป็นหลักสำคัญของทุกการเทรดที่ประสบความสำเร็จเพื่อตัดอิทธิพลทางจิตใจและอารมณ์ที่ก่อกวนและไม่จำเป็นออกไปและนี่คือสาเหตุที่กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงนั้นสำคัญ
ใช้จุดตัดขาดทุนเพื่อจำกัดการขาดทุน
หนึ่งในกฎที่สำคัญที่สุดที่ควรมีไว้และควรใช้ก็คือการวางจุดตัดขาดทุน จุดตัดขาดทุนเป็นคำสั่งให้โบรกเกอร์ของคุณซื้อหรือขายในตลาด เมื่อมันถึงจุดหรือเลยจุดราคาที่คุณตั้งเอาไว้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณซื้อสินทรัพย์มาในราคา 200 ดอลลาร์และอยากจำกัดการขาดทุนในการเทรดนี้ไว้ที่ 10 ดอลลาร์ คุณก็ต้องกำหนดจุดตัดขาดทุนไว้ที่ 190 ดอลลาร์ ถ้าโชคร้าย ราคาของสินทรัพย์ตกลง ถ้าราคานั้นลงต่ำกว่า 190 ดอลลาร์ การเทรดของคุณก็จะถูกขายอัตโนมัติ แปลว่าคุณล็อกให้ขาดทุนได้แค่ 10 ดอลลาร์
เมื่อคุณกำหนดจุดตัดขาดทุนเอาไว้ คุณก็จะเข้าเทรดได้อย่างถูกต้องและเที่ยงตรงต่อกลยุทธ์ของคุณ มันเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้คุณคำนวณอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนได้อีกด้วย ซึ่งเราจะไปเรียนรู้กันต่อจากนี้ โดยมันเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ในกลยุทธ์บริหารความเสี่ยง
แต่ยังไงก็ตาม การคำนวณนี้ไม่สามารถใช้แค่จุดตัดขาดทุนเป็นจุดอ้างอิงได้ จุดตัดขาดทุนนี้ต้องอยู่คงที่ การวางจุดตัดขาดทุนจะไม่มีประโยชน์เลย ถ้าเวลาที่ตลาดเคลื่อนที่ไปใกล้จุดตัด คุณเลือกที่จะเลื่อนจุดตัดหนี ซึ่งนั่นทำให้มีโอกาสที่คุณจะเสียทั้งหมดไปมีมากขึ้น
ใช้จุดตัดขาดทุนแบบเคลื่อนที่เพื่อปกป้องกำไรของคุณ
นอกจากการใช้จุดตัดขาดทุนในการจำกัดการขาดทุนของคุณแล้ว คุณยังสามารถใช้จุดตัดขาดทุนแบบเคลื่อนที่เพื่อปกป้องผลกำไรของคุณได้ด้วย จุดตัดขาดทุนแบบเคลื่อนที่เป็นคำสั่งจุดตัดขาดทุนที่เคลื่อนที่ไปตามราคาตลาดปัจจุบัน เมื่อตลาดนั้นเคลื่อนที่ไปในแง่ดี จุดตัดขาดทุนแบบเคลื่อนที่จะปรับตามการเปลี่ยนแปลงของราคาตลาดแบบอัตโนมัติและขยับตามระยะห่างที่กำหนด หรือจำนวนการเคลื่อนที่ที่ต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบันถ้าคุณถือสถานะซื้อ หรือเหนือราคาตลาดปัจจุบันถ้าคุณถือสถานะขาย
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณซื้อสินทรัพย์ในราคา 100.00 ดอลลาร์และวางจุดตัดขาดทุนแบบเคลื่อนที่ไว้ที่ 95.00 ดอลลาร์ แต่ตั้งให้เคลื่อนที่ได้ 5.00 ดอลลาร์ จากนั้นจุดตัดขาดทุนของคุณจะปรับเป็น 96 ดอลลาร์โดยอัตโนมัติ ถ้าราคาหุ้นเพิ่ม 1.00 ดอลลาร์เป็น 101.00 ดอลลาร์ ถ้าราคาหุ้นตกลง คำสั่งวางจุดตัดขาดทุนก็จะยังอยู่ที่ 95 ดอลลาร์ ซึ่งจะทำการตัดเมื่อเสียไป 5.00 ดอลลาร์
จุดตัดขาดทุนแบบเคลื่อนที่เป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยมซึ่งใช้ในการล็อกผลกำไรของคุณเมื่อตลาดเคลื่อนที่ไปตามเป้าหมาย ในขณะที่ยังป้องกันความเสี่ยงจากตลาดขาลง สิ่งสำคัญที่ควรจำไว้ก็คือจุดตัดขาดทุนแบบเคลื่อนที่ไม่ได้รับรองว่าหุ้นของคุณจะขายได้ตามราคาเคลื่อนที่ที่กำหนดไว้ แต่มันเป็นคำสั่งจำกัดซึ่งจะช่วยหยุดในจุดที่กำหนด หรือจุดที่ดีกว่าจำนวนที่กำหนดไว้
เลือกขนาดการลงทุนให้เหมาะสมเพื่อจำกัดความเสี่ยง
หนึ่งในความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่นักเทรดหลายคนทำกันถึงแม้พวกเขาจะมีประสบการณ์แล้วก็คือ เลือกขนาดการลงทุนที่ใหญ่เกินไปซึ่งทำให้มีความเสี่ยงในตลาดมากเกินไป แล้วคุณจะเลือกขนาดก
ารลงทุนได้ยังไง มีปัจจัยหลายอย่างที่สามารถช่วยเหลือได้ แต่ก็มีการคำนวณพื้นฐานบางอย่างที่คุณสามารถใช้เพื่อช่วยนำทางว่าคุณควรจะเทรดมากแค่ไหนในตำแหน่งการเทรดใดๆ ก็ตาม
เราจะเรียนรู้เรื่อง:
- กฎ 1 เปอร์เซ็นต์
- อัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทน
- อัตราการชนะในการลงทุน
กฎ 1 เปอร์เซ็นต์
อธิบายง่ายๆ ก็คือกฎนี้เป็นที่ยอมรับไปทั่วเพราะกฎ 1 เปอร์เซ็นต์นั้นใช้กับการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นในการเทรด โดยการเทรดทุกครั้งไม่ควรขาดทุนมากกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ของบัญชีการเทรดทั้งหมด และจำนวนเงินขาดทุนที่คุณยินดีจะเสีย นักเทรดหลายคนสร้างกฎเสริมให้กับกฎนี้ว่าห้ามขาดทุนมากกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ในทุกวันที่เทรด หรืออาจจะไม่เสียเกิน 5 เปอร์เซ็นต์ในสัปดาห์ที่เทรด
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าในบัญชี คุณมี 10,000 ดอลลาร์ คุณไม่ควรเสียมากกว่า 100 ดอลลาร์ในการเทรดแต่ละครั้ง
อัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทน
อัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนเป็นการคำนวณอัตราส่วนการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นจากการเทรดซึ่งก็คือความเสี่ยง โดยเทียบกับกำไรที่เราคาดไว้ว่าอาจเกิดขึ้นซึ่งก็คือผลตอบแทน
อัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทน = การขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น/กำไรที่อาจเกิดขึ้น
ดังนั้นถ้าคุณซื้อสินทรัพย์ 200 ดอลลาร์โดยมีเป้าหมายกำไรที่ 220 ดอลลาร์ และคุณตั้งจุดตัดขาดทุนไว้ที่ 190 ดอลลาร์ แปลว่าอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนของคุณจะเป็นดังนี้
อัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทน = การขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น/กำไรที่อาจเกิดขึ้น
= (200-109)/ (220-200)
= 10/20
=1:2
อธิบายง่ายๆ ก็คือคุณจะเข้าเทรดโดยที่อัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนมากกว่า 1:1 อย่างแน่นอน ดังนั้นอย่างน้อยคุณควรได้กำไรที่มากพอๆ กับความเสี่ยง ตามหลักการแล้ว คุณจะตั้งการซื้อขายใดๆ ก็ตามด้วยอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนมากกว่า 1:2
จากนั้นก็เลือกขนาดการลงทุนและจำนวนเงินที่คุณสามารถขาดทุนได้ในการเทรดนั้นๆ ก่อนอื่นคุณควรคำนวณด้วย “กฎ 1 เปอร์เซ็นต์” และจากตัวอย่างของเรา คุณจะเห็นว่าคุณสามารถเสียได้ 100 ดอลลาร์ต่อการเทรด
จากนั้นให้ใช้ตัวอย่างต่อไปที่เราเรียกว่าอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทน เราจะเห็นว่าการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้นในการเทรดนี้คือ 10 ดอลลาร์ต่อหนึ่งหน่วยสินทรัพย์พื้นฐานที่เราซื้อมา
ในตัวอย่างนี้ เราสามารถซื้อสินทรัพย์ได้ 5 หน่วย ซึ่งแปลว่าเราจะเสียแค่ 100 ดอลลาร์ หากการเทรดไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ถ้าการเทรดได้กำไรและทำตามเป้าหมายสำเร็จ เราก็จะได้กำไร 200 ดอลลาร์เพราะอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนที่เราคำนวณไว้อยู่ที่ 1:2
อัตราการชนะในการลงทุน
การคำนวณต่อไปที่เราจะมาดูกันก็คืออัตราการชนะในการลงทุน อัตราการชนะในการลงทุนคือจำนวนการเทรดที่ได้กำไร (หรือชนะ) จากกลยุทธ์การเทรดในระยะเวลาที่ผ่านการทดสอบและกำหนดไว้ โดยแบ่งจำนวนเทรดทั้งหมดตามช่วงเวลานี้ โดยมักจะแสดงข้อมูลเป็นเปอร์เซ็นต์
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณออกแบบกลยุทธ์ให้ทำการเทรดสิบครั้งในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ และการเทรดเจ็ดในสิบครั้งเป็นการเทรดที่ได้กำไรและอีกสามครั้งขาดทุน แสดงว่าอัตราการชนะในการลงทุนคือ 7÷10 หรือถ้าดูเป็นเปอร์เซ็นต์คือ 70 เปอร์เซ็นต์
โดยปกติแล้วต้องเลือกคำนวณระหว่างอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนและอัตราการชนะในการลงทุน เพราะกลยุทธ์ส่วนใหญ่นั้นจะมีอัตราการชนะในการลงทุนสูงซึ่งแปลว่ามีการเทรดที่ชนะมากกว่าและมีอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนต่ำ หรือไม่ก็มีอัตราการชนะในการลงทุนต่ำ อัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนสูง เราจะเรียนรู้วิธีการคำนวณหลากหลายแบบและรายละเอียดความสัมพันธ์ของอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนและอัตราการชนะในการลงทุนให้มากขึ้นที่บทความของเราอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนและอัตราการชนะ
กระจายความเสี่ยง
อีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญเวลาดูกลยุทธ์บริหารความเสี่ยงก็คือการกระจายความเสี่ยงในการเทรด การกระจายพอร์ตการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงโดยไม่ต้องเสียผลตอบแทนที่คาดหวังเอาไว้ แนวคิดทฤษฎีพอร์ตการลงทุนสมัยใหม่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน แฮร์รี่ มาร์โกวิตซ์ซึ่งเขียนไว้ในบทความวิจัย “การเลือกพอร์ตการลงทุน” และมันถูกใช้อย่างกว้างขวางตั้งแต่ตีพิมพ์ในปี 1952
การกระจายพอร์ตการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงเป็นกลยุทธ์ที่มีเป้าหมายในการลดความเสี่ยงจากการเทรดหรือการลงทุนโดยกระจายเงินทุนไปในประเภทสินทรัพย์ที่แตกต่างกัน เหตุผลเบื้องหลังการกระจายนี้ก็คือ หากลงทุนหรือเทรดในประเภทสินทรัพย์ที่แตกต่างกัน คุณสามารถลดผลกระทบที่จะได้รับจากการลงทุนหรือการเทรดชนิดเดียวที่ส่งผลต่อพอร์ตการลงทุนทั้งหมดของคุณได้ การกระจายพอร์ตการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงไม่ได้รับรองว่าจะทำเงินได้ แต่มันช่วยลดความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตการลงทุนหรือกลยุทธ์การเทรดของคุณ
เมื่อมุ่งเน้นไปที่การเทรด การกระจายพอร์ตการลงทุนไม่จำเป็นต้องมีจำนวนการเทรดที่มีสหสัมพันธ์เชิงบวกในเวลาเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นเราสามารถคาดการณ์ได้ว่าตลาดหุ้นสหรัฐฯ กับตลาดหุ้นอังกฤษมีสหสัมพันธ์เชิงบวกต่อกันอย่างมาก ซึ่งตลาดจะมีขาขึ้นและขาลงพร้อมกัน ดังนั้นถ้าคุณถือสถานะซื้อทั้งดัชนีเอสแอนด์พี 500 (สหรัฐ) และดัชนีเอฟทีเอสอี 100 (อังกฤษ) ในความจริงแล้ว คุณจะมีความเสี่ยงในตลาดโดยรวมมากกว่าการเทรดสองรายการที่แยกจากกันและไม่มีสหสัมพันธ์กัน คุณจะมีความเสี่ยงในสถานะซื้อในดัชนีเอสแอนด์พี 500 1 เปอร์เซ็นต์และมีความเสี่ยงในสถานะซื้อในดัชนีเอฟทีเอสอี 100 อีก 1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คุณมีความเสี่ยง 2 เปอร์เซ็นต์ และมันไม่ได้เกิดขึ้นกับดัชนีของสองตลาดหลักทรัพย์ในตัวอย่างเท่านั้น ประเภทสินทรัพย์ที่แตกต่างกันก็สามารถมีสหสัมพันธ์เชิงบวกต่อกันได้ ยกตัวอย่างเช่นคู่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ/เยนญี่ปุ่นกับแนสแดค 100
สรุปกลยุทธ์สำหรับบริหารความเสี่ยงในการเทรด
กลยุทธ์บริหารความเสี่ยงเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับนักเทรด มันช่วยระบุและจัดการกับความเสี่ยง จำกัดขนาดการลงทุน และทำให้มีโอกาสเทรดได้อย่างปลอดภัย กลยุทธ์บริหารความเสี่ยงที่สมบูรณ์สามารถช่วยปกป้องเงินต้น ป้องกันการขาดทุนและเสริมกำไรได้ ถึงแม้จะไม่มีวิธีการป้องกันการขาดทุนที่ใช้ได้ผลร้อยเปอร์เซ็นต์ กลยุทธ์บริหารความเสี่ยงที่วางแผนมาเป็นอย่างดีก็สามารถทำให้นักเทรดได้เปรียบอย่างมาก อย่างที่เราได้เรียนรู้กันไป เทคนิคบริหารความเสี่ยงที่ใช้กันทั่วไปประกอบด้วย:
- การตั้งกฎเพื่อเลี่ยงอิทธิพลจากอารมณ์
- การเลือกขนาดการลงทุนเพื่อไม่ให้เทรดมากจนเกินไป
- การใช้คำสั่งจุดตัดขาดทุนและจุดตัดขาดทุนแบบเคลื่อนที่
- การคำนวณกฎ 1 เปอร์เซ็นต์ อัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนและอัตราการชนะในการลงทุน
- การกระจายความเสี่ยงด้วยการเลี่ยงไม่เทรดในสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกันจนมากเกินไป
เมื่อนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้ในกลยุทธ์บริหารความเสี่ยง คุณคงสามารถพัฒนากำไรการเทรดโดยรวมและประสบความสำเร็จในระยะยาวได้