สัญญาณการเทรดที่มี RSI
เครื่องมือวิเคราะห์โมเมนตัม – RSI
Relative Strength Index (RSI) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์โมเมนตัมยอดนิยมซึ่งใช้โดยเทรดเดอร์ที่ศึกษาการวิเคราะห์ทางเทคนิค RSI เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ “Oscillator (การแกว่งของราคา)” ที่เคลื่อนไหวระหว่างค่า 0 ถึง 100 ซึ่งสามารถช่วยให้สัญญาณถึงสถานการณ์ของราคาปัจจุบัน เช่น สภาวะที่ซื้อมากเกินไป/ขายมากเกินไป รวมถึงกำลังของเทรนด์ ทั้งนี้ RSI จะมีประโยชน์สำหรับกรอบระยะเวลาในการลงทุนหลายระยะเวลา
RSI จะพิจารณาจำนวนช่วงเวลา (เช่น วัน ชั่วโมง ฯลฯ) ในกรอบเวลาที่ระบุซึ่งราคาได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเทียบกับจำนวนช่วงเวลาที่ราคาได้ปรับตัวลดลง จากนั้น สูตรจะคำนวณจุดที่ราคากำลังเทรดในกรอบของระยะเวลาที่ต้องการทราบข้อมูล
ในการศึกษาแต่เดิมนั้น Welles Wilder (ผู้คิดค้น RSI) ใช้ระยะเวลา 14 วันโดยถือเป็นจำนวนที่ได้ผลดีที่สุด แม้จะเป็นไปได้ที่จะใช้ระยะเวลาอื่น แต่ก็ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า 14 วันคือมาตรฐานที่เทรดเดอร์ใช้ ดังนั้น ยกตัวอย่างก็คือในกราฟรายวัน จะมีการใช้ RSI 14 วัน ส่วนในกราฟรายชั่วโมง จะมีการใช้ RSI 14 ชั่วโมง
เราได้กล่าวก่อนหน้านี้แล้วว่าตัวแปรจะสามารถปรับได้เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ เพราะเทรดเดอร์ระยะสั้นกว่าอาจต้องการใช้ระยะเวลาที่น้อยกว่าเมื่อคำนวณ RSI โดยการคำนวณ RSI ที่ได้รับความนิยมนั้นมีด้วยกัน 9 ระยะเวลา การลดจำนวนระยะเวลาในการคำนวณจะทำให้เครื่องมือวิเคราะห์มีความอ่อนไหว/ความผันผวนมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดสัญญาณมากขึ้นโดยเคลื่อนไหวเข้าสู่แดนของการซื้อมากเกินไป/ขายมากเกินไปเร็วขึ้นกว่าที่เคย อย่างไรก็ตาม คำเตือนก็คือการทำเช่นนี้จะเพิ่มโอกาสเกิดสัญญาณหลอก
การคำนวณ
เมื่อใช้วิธีปรับสูตรเดิมของ Welles Wilder แล้ว RSI สามารถคำนวณได้ดังนี้:
RSI = 100 - 100 / 1+RS
โดยที่ RS = กำไรโดยเฉลี่ยตามจำนวนระยะเวลาหารด้วยขาดทุนโดยเฉลี่ยตามจำนวนระยะเวลา
สูตรจะคำนวณออกมาเป็นตัวเลขในช่วง 0 ถึง 100 พูดกันในวงกว้างว่าการอ่านค่าได้มากกว่า 70 จะบ่งชี้ว่าราคาอยู่ในช่วงซื้อมากเกินไป ส่วนการอ่านค่าได้ต่ำกว่า 30 จะบ่งชี้ว่าราคาอยู่ในช่วงขายมากเกินไป
ระวังจะสับสนระหว่าง RSI (Relative Strength Indicator) กับ Relative Strength Ratio
หนึ่งในเหตุผลที่มีการเรียก RSI โดยใช้ชื่อย่อก็คือเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับ Relative Strength Ratio ซึ่งเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่ใช้วัดผลการดำเนินงานของตราสารหนึ่งเมื่อเทียบกับอีกตราสาร
Reading the RSI
RSI จะแกว่งตัวอยู่ระหว่าง 0 ถึง 100 โดย 50 จะถือเป็นระดับกลางหรือจุดกึ่งกลาง หาก RSI สูงกว่าระดับ 50 ขึ้นไป โมเมนตัมของระยะเวลาที่ศึกษาจะถือเป็นบวก ตรงกันข้าม หาก RSI ต่ำกว่าระดับ 50 โมเมนตัมของระยะเวลาที่ศึกษาจะถือเป็นลบ
Welles Wilder ค้นพบในงานเดิมว่าตราสารจะอยู่ในสภาวะที่ซื้อมากเกินไปเมื่อ RSI สูงกว่า 70 และสภาวะที่ขายมากเกินไปเมื่อ RSI ต่ำกว่า 30 ดังนั้น RSI จึงสามารถช่วยระบุสัญญาณการอ่อนกำลังของเทรนด์ได้
รูปภาพที่ 1. RSI 14 วัน ของ EUR/USD
อย่างไรก็ตาม วิธีที่คุณวิเคราะห์ RSI จะขึ้นอยู่กับว่าราคากำลังเทรดในตลาดซึ่งอยู่ในเทรนด์ที่มีกำลังหรือไม่ (ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์ขาขึ้นหรือขาลง) หรือกำลังเทรดในตลาดที่เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ
การอ่าน RSI ของตลาดที่กำลังอยู่ในเทรนด์จะต่างจากตลาดที่เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ
ในตลาดที่กำลังอยู่ในเทรนด์ RSI อาจเคลื่อนไหวมากเกินไปในระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น วิธีคำนวณ RSI ส่งผลให้มักจะมีช่วงวันที่เทรดโดยมีค่าบวกยาวนานยิ่งขึ้นในเทรนด์ที่มีกำลัง ดังนั้น ตามคำจำกัดความแล้ว ยิ่งระยะเวลาที่คำนวณมีวันที่ตลาดปรับตัวมากขึ้น RSI ก็สามารถดันค่าไปเกินกว่า 70 ได้มากขึ้น RSI จึงสามารถเป็นเกณฑ์วัดกำลังของเทรนด์ รวมถึงวัดการซื้อมากเกินไป/ขายมากเกินไป ในตลาดซึ่งอยู่ในเทรนด์ขาขึ้นที่มีกำลัง RSI อาจสามารถคงค่าอยู่เหนือ 70 ไปสักระยะ ส่วนในตลาดซึ่งอยู่ในเทรนด์ขาลงที่มีกำลัง RSI จะสามารถคงค่าอยู่ต่ำกว่า 30 เป็นระยะเวลานาน
ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการเทรดด้วย RSI ในตลาดที่กำลังอยู่ในเทรนด์ก็คือการเทรดในทิศทางตามเทรนด์ หากกำลังอยู่ในเทรนด์ขาขึ้นที่มีกำลัง เมื่อ RSI อ่อนค่าลงก็เป็นโอกาสที่จะซื้อ เทรดเดอร์จะมองหาจังหวะที่ RSI กำลังปรับตัวไปที่ระดับ 50 (หรือบางครั้งระหว่าง 40 ถึง 50) โดยถือเป็นขีดจำกัดของขาลงก่อนที่แรงซื้อจะกลับมาฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงจะมาพร้อมการขาย ณ จุดที่ RSI ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างยาวนานในเทรนด์ขาขึ้นที่มีกำลัง ซึ่งอาจทำให้เกิดการปิดสถานะ Long เร็วเกินไปหรือเปิด Short ในตลาดที่กำลังปรับตัวขึ้น (เป็นกลยุทธ์ที่มีความเสี่ยงสูง)
- ในเทรนด์ขาขึ้น เทรดเดอร์จะมองหา Bearish Divergence (อธิบายทางด้านล่าง) เพื่อเป็นสัญญาณถึงกำลังที่ลดลงของเทรนด์ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณให้ Take profit สถานะ Long
- ในเทรนด์ขาลง Bullish Divergences สามารถบ่งชี้ถึงแรงขายที่เบาบางและโอกาสเกิดการกลับตัวบวก
หากราคาอยู่ในกรอบการเทรด ค่าก็จะปรับตัวขึ้นลงระหว่างระดับแนวรับกับแนวต้าน ซึ่งจะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถใช้สัญญาณซื้อมากเกินไปและขายมากเกินไปแบบดั้งเดิมด้วย RSI ได้
การใช้ RSI แบบดั้งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาการกลับตัวที่เป็นค่าเฉลี่ย เทรดเดอร์จะใช้ระดับการขายมากเกินไปที่ 30 เพื่อเป็นสัญญาณซื้อ (หรือปิดสถานะ Short) และเทรดเดอร์จะใช้ระดับการซื้อมากเกินไปที่ 70 เพื่อเป็นสัญญาณขาย Short (หรือปิดสถานะ Long)
รูปภาพที่ 2: การอ่านสัญญาณ RSI ของ GBP/USD ในตลาดที่กำลังอยู่ในเทรนด์จะต่างจากตลาดที่เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ
การใช้ RSI เพื่อสร้างสัญญาณการเทรด
1. Crossovers
Crossover เป็นสัญญาณซื้อหรือขายที่เกิดขึ้นเมื่อ RSI เคลื่อนไหวตัดค่าระดับสูงและจากนั้นก็ย่อลง Crossover จะใช้ระดับที่ Welles Wilder มองว่าเคลื่อนไหวมากเกินไปโดยถือว่า 30 คือขายมากเกินไปและ 70 คือซื้อมากเกินไป สัญญาณการ Crossover ของ RSI จะทำงานได้ดีในตลาดที่เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ ส่วนในตลาดที่กำลังอยู่ในเทรนด์ที่มีกำลัง RSI จะสามารถคงค่าอยู่ในระดับที่สุดโต่ง (ไม่ว่าจะเป็นการซื้อมากเกินไปหรือขายมากเกินไป) ไปสักระยะก่อนเริ่มกลับตัว ในตลาดที่เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ Crossover ของ RSI และ Divergence (ดูด้านล่าง) อาจเป็นสัญญาณให้ดำเนินการ สัญญาณซื้อจาก Crossover จะเกิดจากการเทขายที่ส่งผลให้ RSI ต่ำกว่า 30 และจากนั้นก็จะฟื้นตัวโดยทำให้ RSI ปรับตัวสูงขึ้นจนกลับไปตัดเหนือ 30 ซึ่งสัญญาณจะเกิดขึ้นเมื่อราคาตัดกลับไปเหนือ 30 สัญญาณขายจาก Crossover จะเกิดขึ้นเมื่อราคาผลักให้ RSI ปรับตัวขึ้นเหนือ 70 จนเข้าสู่แดนของการซื้อมากเกินไป การปรับฐานที่ตามมาจะทำให้ RSI กลับไปตัดที่ต่ำกว่า 70 ซึ่งเป็นสัญญาณขาย
2. Bullish และ Bearish Divergences
ปกติแล้ว Divergences มักพบได้ในตลาดที่กำลังอยู่ในเทรนด์ถึงแม้ Divergences จะสามารถใช้กับการเทรดในกรอบได้เช่นกัน เทรดเดอร์จะมองหา Divergences ระหว่าง RSI กับราคาซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงการกลับตัวของเทรนด์ที่อาจเกิดขึ้น ในตลาดกระทิง หากราคาทำจุดสูงสุดครั้งใหม่ แต่ RSI กลับปรับตัวลงพร้อมกัน จะเป็นการบ่งชี้ว่ากำลังของโมเมนตัมขาขึ้นกำลังอ่อนตัวลง ซึ่งจะเรียกสถานการณ์นี้ว่า Bearish Divergence (หรือ Negative Divergence) และตีความได้ว่ามีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ราคาจะกลับตัว Bullish Divergence สามารถพบได้ในตลาดหมีเมื่อราคาทำจุดต่ำสุดที่ต่ำกว่าเดิม แต่ RSI จะเริ่มปรับตัวขึ้นหรือทำจุดต่ำสุดที่สูงกว่าเดิม คำเตือนสำหรับการเทรดด้วย Divergences ก็คือ Divergences ระหว่างราคากับ RSI จะสามารถเกิดขึ้นต่อเนื่องไปสักระยะก่อนที่การกลับตัวของราคาจะเริ่มต้นขึ้น
3. Failure swings
Failure swings สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในเทรนด์ขาขึ้นและเทรนด์ขาลง ในตลาดกระทิง Failure swings จะเป็นสัญญาณขาย โดยจะเกิดขึ้นเมื่อ RSI ปรับตัวขึ้นไปยังระดับที่สูงมากกว่า 70 แล้วจากนั้นก็จะตกลงมาต่ำกว่า 70 จากนั้น RSI จะปรับตัวกลับไปสูงกว่าเดิมเพื่อสร้างจุดสูงสุดครั้งที่สองซึ่งเท่ากับหรือต่ำกว่าจุดสูงสุดครั้งก่อน จากนั้น Failure swings จะสมบูรณ์เนื่องจาก RSI ปรับตัวกลับไปต่ำกว่าจุดสูงสุดครั้งแรก ในรูปแบบที่สมบูรณ์ RSI พัฒนารูปแบบตัว “M” (หรือตัว “M” ที่ไม่สมส่วน) ในตลาดหมี Failure swings จะเป็นสัญญาณซื้อ โดยจะเกิดขึ้นเมื่อ RSI ปรับตัวลงไปยังระดับที่ต่ำมากกว่า 30 ซึ่งจะทำให้เกิดจุดต่ำสุดใน RSI และดีดตัวกลับไปเหนือ 30 จากนั้น แรงขายจะกลับมาลาก RSI ให้ลงไปต่ำกว่า 30 แต่จะดูชัดเจนน้อยลง จุดต่ำสุดรอบที่สองจะเกิดขึ้นบน RSI โดยจะเท่ากับหรือสูงกว่าจุดต่ำสุดครั้งก่อน จากนั้น Failure swing จะสมบูรณ์เนื่องจาก RSI ปรับตัวกลับไปเหนือจุดสูงสุดที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ โดยจะสร้าง (ตามหลักการ) รูปแบบตัว “W” (หรือตัว “W” ที่ไม่สมส่วน)
หมายเหตุ สัญญาณที่ใช้ RSI แบบที่ดีที่สุดจะเป็นการใช้สัญญาณต่างๆ ร่วมกัน
ตัวอย่างเช่น Bearish Divergence ที่มี Failure swing อาจเป็นสัญญาณขายที่ทรงประสิทธิภาพ
รูปภาพที่ 5: Bearish Divergence ของ RSI ที่มี Failure swing ใน EUR/USD
หมายเหตุ เราไม่แนะนำให้เทรดด้วยเครื่องมือวิเคราะห์เพียงตัวเดียวไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือตัวใดตัวหนึ่งในบรรดาเครื่องมือทั้งหมดของเรา เราจะพิจารณาสัญญาณยืนยันจากการศึกษาอื่นๆ ด้วยเสมอเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นในการวิเคราะห์ของเรา