ตลาด Forex หรือ FX นั้นได้รับผลกระทบจากหลายๆ ปัจจัย เหมือนกับที่สกุลเงินได้รับผลกระทบจาก:
- สภาวะทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในคู่สกุลเงินนั้น
- สภาวะทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกันระหว่างสองประเทศในคู่สกุลเงิน
- ข้อมูลทางเศรษฐกิจเหล่านี้ (ซึ่งสะท้อนให้เห็นสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน) เช่นผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) เงินเฟ้อ การว่างงานและอื่นๆ
- ทิศทางทางการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- นโยบายทางการเงิน
ถึงแม้นี่จะไม่ใช่รายการปัจจัยที่ครบถ้วน แต่ปัจจัยเหล่านี้คือตัวขับเคลื่อนหลักในตลาด Forex เราจะมาพิจารณาผลกระทบของนโยบายทางการเงินที่มีต่อตลาด FX ให้ละเอียดมากขึ้น
สิ่งที่เราทำการศึกษา:
นโยบายทางการเงินคืออะไร
นโยบายทางการเงินคือชุดเครื่องมือทางเศรษฐกิจ โดยส่วนใหญ่แล้วธนาคารกลางของประเทศมักเป็นผู้ควบคุม (ในนามของรัฐบาล) ซึ่งใช้เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ
และรับรองการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยรวมแล้ว นโยบายทางการเงินเป็นตัวควบคุมปริมาณเงินในเศรษฐกิจซึ่งมีการบังคับใช้ในหลายภาคส่วนของเศรษฐกิจ รวมไปถึงผู้บริโภค เอกชนและภาคธนาคาร เมื่อปรับเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ (ซึ่งเราจะไปดูกันด้านล่าง) ธนาคารกลางก็สามารถชักจูงเศรษฐกิจเพื่อให้มีอัตราการเติบ
ประเภทของนโยบายทางการเงิน
นโยบายทางการเงินมีสองประเภทหลักคือแบบผ่อนคลายและแบบเข้มงวด
นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย
หากการเติบโตของเศรษฐกิจช้าลงเนื่องจากมีอัตราว่างงานสูง มีโอกาสที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย และอัตราเงินเฟ้อต่ำและไม่สูงขึ้นเลย ธนาคารกลางมักจะใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายเพื่อเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศเศรษฐกิจโลกที่สำคัญส่วนใหญ่ใช้นโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายมาตั้งแต่วิกฤตการเงินโลกในปี 2008
นโยบายทางการเงินแบบเข้มงวด
ถ้าเศรษฐกิจเติบโตรวดเร็วเกินไป ถ้าการเติบโตสูงเกินไปและมีอัตราว่างงานต่ำมากๆ ก็มีโอกาสที่อัตราเงินเฟ้อจะพุ่งสูงขึ้นซึ่งเป้าหมายหลักของธนาคารกลางเกือบทุกแห่งก็คือการคงอัตราเงินเฟ้อให้ต่ำเอาไว้ โดยปกติจะต่ำกว่า 2.0 เปอร์เซ็นต์ ในกรณีนี้ ธนาคารกลางมักจะใช้นโยบายทางการเงินแบบเข้มงวดเพื่อลดการเติบโตของเศรษฐกิจเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อไม่พุ่งสูงกว่าเดิม
เครื่องมือของนโยบายทางการเงิน
แต่ละธนาคารกลางซึ่งเป็นตัวแทนรัฐบาลจะทำตามเป้าหมายนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายและแบบเข้มงวดให้สำเร็จได้ยังไงพวกเขามีเครื่องมือมากมายที่สามารถใช้ได้ซึ่งเครื่องมือหลักสามอย่างก็คือการปรับอัตราดอกเบี้ย มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณและการเปลี่ยนแปลงกำหนดการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคาร เราจะไปดูเครื่องมือเหล่านี้กันทีละอย่าง
อัตราดอกเบี้ย
เครื่องมือหลักของนโยบายทางการเงินที่ธนาคารกลางสามารถใช้ได้ก็คือการปรับอัตราดอกเบี้ย ในประเทศส่วนใหญ่ ธนาคารกลางจะควบคุมอัตราดอกเบี้ยซึ่งให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมในฐานะผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้าย (ยกตัวอย่างจากในสหรัฐฯ นี่คือตัวอย่างการคิดอัตรา) เมื่อปรับอัตราดอกเบี้ยแล้ว มักจะส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์ให้หรือกู้ยืมมาจากลูกค้า
มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ
เครื่องมืออีกอย่างที่กลายเป็นเครื่องมือพื้นฐานในศตวรรษที่ 21 คือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ โดยย่อแล้ว นี่คือตอนที่ธนาคารกลางใช้ตราสารหนี้ระยะสั้นในการซื้อและขายสินทรัพย์ ธนาคารกลางจะเพิ่มเงินเข้าไปในระบบธนาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการซื้อสินทรัพย์ และธนาคารจะให้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำลง เป็นการตอบแทนหรือลดเงินด้วยการขายสินทรัพย์เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคาร
ธนาคารกลางสามารถควบคุมการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารได้ นี่เป็นเงินทุนที่ธนาคารพาณิชย์ต้องมีไว้โดยมีสัดส่วนสัมพันธ์กับเงินฝากทั้งหมดของลูกค้าเพื่อใช้จ่ายหนี้ การเพิ่มอัตราการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องจะจำกัดการให้กู้ยืมของธนาคาร และเป็นนโยบายแบบเข้มงวด การลดอัตราการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นการปล่อยเงินทุน และเป็นนโยบายแบบเข้มงวด
นโยบายทางการเงินส่งผลต่อตลาด Forex อย่างไร
เครื่องมือของนโยบายทางการเงินแต่ละแบบส่งผลต่อค่าเงินต่างกัน แต่โดยรวมแล้ว ถ้าเครื่องมือถูกใช้และใช้แบบผ่อนคลาย มันมักจะทำให้ค่าเงินอ่อนลง โดยสกุลเงินจะมีค่าลดลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่น (จากสกุลเงินที่มีค่าเท่ากัน) ซึ่งเป็นเพราะว่าปัจจัยทั้งสองอย่างนั้นเกื้อหนุนกันและกัน
อย่างแรก เหตุผลที่เครื่องมือแบบผ่อนคลายถูกใช้ก็เป็นเพราะเศรษฐกิจถดถอยหรือบ่งชี้ว่ามีโอกาสที่จะถดถอยในอนาคต ดังนั้นธนาคารกลางจึงมีความกังวลว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจจะลดลงต่ำกว่าระดับที่เหมาะสม อัตราเติบโตต่ำทำให้เศรษฐกิจไม่ดึงดูดนักลงทุน ซึ่งจะทำให้สกุลเงินมีค่าต่ำลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ
อย่างที่สอง หากอัตราดอกเบี้ยมีโอกาสที่จะต่ำลงในเศรษฐกิจประเทศนั้นๆ ก็เป็นสิ่งที่ไม่ดึงดูดนักลงทุน และก็เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ค่าเงินต่ำลง
ในทางกลับกัน ถ้านโยบายเป็นแบบเข้มงวด มันมักจะส่งผลในแง่ดีต่อค่าเงิน และเราจะเห็นว่าค่าเงินแข็งค่ามากกว่าค่าเงินอื่นๆ (จากสกุลเงินที่มีค่าเท่ากัน) และนี่เป็นเพราะสองปัจจัยเท่านั้น
เครื่องมือแบบเข้มงวดแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจมั่งคงซึ่งอาจมีความเสี่ยงจะเติบโตสูงเกินไป แต่มันก็ยังแสดงให้เห็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคงซึ่งดึงดูดนักลงทุนและดีต่อค่าเงิน ยิ่งอัตราดอกเบี้ยสูงเท่าไหร่ ก็ยิ่งดึงดูดนักลงทุนมากเท่านั้น และช่วยเสริมให้ค่าเงินแข็งแกร่งขึ้น
โดยตารางด้านล่างนี้จะสรุปได้ชัดเจนที่สุด
เครื่องมือนโยบาย | ผ่อนคลาย/เข้มงวด | ผลกระทบที่อาจเกิดต่อค่าเงิน |
---|---|---|
อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น | เข้มงวด | ค่าเงินสูงขึ้น |
อัตราดอกเบี้ยลดลง | ผ่อนคลาย | ค่าเงินลดลง |
ลดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ | เข้มงวด | ค่าเงินสูงขึ้น |
เพิ่มมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ | ผ่อนคลาย | ค่าเงินลดลง |
เพิ่มอัตราการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง | เข้มงวด | ค่าเงินสูงขึ้น |
ลดเพิ่มอัตราการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง | ผ่อนคลาย | ค่าเงินลดลง |
ประเด็นสำคัญ
จากการสรุป ประเด็นสำคัญก็คือ:
- มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อตลาด Forex หนึ่งในนั้นคือนโยบายทางการเงิน
- มีนโยบายทางการเงินหลังสองแบบคือแบบผ่อนคลายและแบบเข้มงวด
- มีเครื่องมือของนโยบายทางการเงินหลักๆ สามอย่างคืออัตราดอกเบี้ย มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ และอัตราการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคาร
- เครื่องมือแต่ละแบบส่งผลต่อค่าเงินแตกต่างกัน แต่หลักคร่าวๆ ก็คือถ้านโยบายแบบผ่อนคลาย มักจะส่งผลเสียต่อค่าเงิน โดยสกุลเงินนั้นจะมีค่าลดลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ (จากสกุลเงินที่มีค่าเท่ากัน) ในทางกลับกัน ถ้านโยบายเป็นแบบเข้มงวด มันมักจะส่งผลในแง่ดีต่อค่าเงิน และเราจะเห็นว่าค่าเงินถูกมองว่ามีค่ามากกว่าค่าเงินอื่นๆ (จากสกุลเงินที่มีค่าเท่ากัน)