ประวัติศาสตร์ของตลาดสกุลเงินถึงแม้จะยาวและซับซ้อน แต่ถึงอย่างไร มันก็น่าทึ่ง ตลาดสกุลเงินเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจโลกและมีพัฒนาการมาตลอดหลายปีเพื่อให้ตอบสนองความต้องการของนักเทรดและนักลงทุน ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา มันพัฒนามาเป็นการแลกเปลี่ยนทางการเงินที่ซับซ้อนซึ่งช่วยให้ประเทศต่างๆ องค์กรต่างๆ และผู้คนสามารถซื้อและขายสินค้าและบริการได้ทั่วโลก
ในปัจจุบัน ตลาดสกุลเงินเป็นหนึ่งในแง่มุมที่สำคัญที่สุดในเศรษฐกิจโลก ในฐานะนักเทรดหรือนักลงทุน การเข้าใจประวัติศาสตร์ตลาดเหล่านี้เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการตัดสินใจก็เป็นเรื่องสำคัญ ในการทบทวนประวัติศาสตร์นี้ เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับต้นกำเนิดของตลาดสกุลเงินในยุคแรกจนถึงระบบที่ซับซ้อนในปัจจุบันนี้ และพิจารณาเหตุการณ์สำคัญที่มีอิทธิพลต่อวิวัฒนาการของมัน ซึ่งได้แก่:
ตลาดสกุลเงินในประวัติศาสตร์
การเทรดสกุลเงินนั้นมีมาหลายศตวรรษและสามารถย้อนไปถึงปีที่เกิดเหตุการณ์ในไบเบิลได้เลย! ในช่วงยุคกลาง ธนาคารถือกำเนิดขึ้นและมีการเทรดสกุลเงินระหว่างยุโรปและบางส่วนของเอเชีย แต่มันก็ยังไม่เป็นตลาดสกุลเงินจนกระทั่งมีการสร้างระบบมาตรฐานทองคำซึ่งทำให้เข้าสู่ยุคที่เรียกว่า “สมัยใหม่”
ระบบมาตรฐานทองคำ
ระบบมาตรฐานทองคำเป็นระบบเงินตราซึ่งค่าของสกุลเงินถูกผูกไว้กับค่าของทอง ภายใต้ระบบนี้ ธนบัตรสามารถนำมาแลกเป็นทองได้ในอัตราที่กำหนดเอาไว้ อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสองสกุลเงินจะคำนวณจากราคาทองหนึ่งออนซ์ในทั้งสองสกุลเงิน
อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ระบบมาตรฐานทองคำกลายเป็นระบบเงินตราที่ล่มสลายเพราะประเทศยุโรปจำนวนมากพิมพ์ธนบัตรมาใช้จ่ายในโครงการทางทหารขนาดใหญ่ ระบบมาตรฐานทองคำกลับมาอีกครั้งระหว่างสงครามโลกแต่ก็ถูกละทิ้งไปในปี 1939
ข้อตกลงเบรตตันวูดส์
ฝ่ายสัมพันธมิตรพบกันในปี 1944 ที่เบรตตันวูดส์ นิวแฮมป์เชียร์ สหรัฐอเมริกา และตกลงที่จะแก้ไขอัตราแลกเปลี่ยนหลักโดยใช้ดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินสำรองหลักแทนทอง ดอลลาร์สหรัฐกลายเป็นเกณฑ์ในการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน โดยมีทองคำหนุนหลัง
ระบบเบรตตันวูดส์ ประสบความสำเร็จจนกระทั่งช่วงต้นปี 1970 ซึ่งในตอนนั้นกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ไม่มีทองจำนวนมากพอจะครอบคลุมดอลลาร์สหรัฐทั้งหมดที่อยู่ธนาคารกลางต่างประเทศ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ริชาร์ด นิกสันตัดสินใจล้มล้างระบบทองคำหนุนค่าเงินในวันที่ 15 สิงหาคมปี 1971 จึงทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐเป็นทองอย่างง่ายดายได้อีก มันจึงถูกมองว่าเป็นจุดจบของข้อตกลงเบรตตันวูดส์
ข้อตกลงเบรตตันวูดส์ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดสามองค์กรระดับโลกขึ้น
- ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและวิวัฒนาการ (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธนาคารโลก)
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
- ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) ซึ่งหลังจากนั้นกลายเป็นองค์การการค้าโลก (WTO)
ข้อตกลงสมิธโซเนียน
หลังจากข้อตกลงเบรตตันวูดส์จบลง ข้อตกลงสมิธโซเนียนก็เกิดขึ้นในปี 1971 ตรึงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐกับทองโดยอยู่ที่ 38 ดอลลาร์ต่อออนซ์ โดยมีกรอบการแกว่งตัวอยู่ที่ 2.25 เปอร์เซ็นต์ มันเป็นความพยายามตรึงอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินที่อยู่ได้ไม่นาน สหรัฐอเมริกาซึ่งเทียบราคาดอลลาร์สหรัฐกับทองมาเป็นเวลานานตกลงที่จะขึ้นราคาทองและให้สกุลเงินอื่นๆ ผันแปรขึ้นมาใกล้เคียงกับดอลลาร์สหรัฐได้ เป้าหมายก็คือสร้างระบบเงินตราต่างประเทศที่มั่นคงยิ่งขึ้น แต่ข้อตกลงนี้ก็ล่มลงไม่กี่เดือนหลังจากนั้น เมื่อเงินดอลลาร์สหรัฐเริ่มเสียมูลค่าไป ข้อตกลงที่ล้มเหลวนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวในปัจจุบัน ถึงแม้มันจะล้มเหลวไม่เป็นท่า แต่ข้อตกลงสมิธโซเนียนก็ยังเป็นหนึ่งในช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ
ข้อตกลงพลาซา
ข้อตกลงพลาซาเป็นข้อตกลงระหว่างสหรัฐอเมริกากับเศรษฐกิจหลักอีกสี่ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนีตะวันตก ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร เพื่อลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้น เป้าหมายก็คือช่วยเหลือเศรษฐกิจของสหรัฐฯ (และทั่วโลก) ให้ฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงต้นปี 1980 มันได้ชื่อว่าข้อตกลงพลาซาเนื่องจากมีการตกลงกันที่โรงแรมพลาซาในนิวยอร์ก ในวันที่ 22 กันยายนปี 1985 การลดค่าเงินดอลลาร์สหรัฐลงทำให้สินค้าส่งออกของสหรัฐฯ แข่งขันในตลาดได้มากขึ้นและช่วยลดการขาดดุลทางการค้า ข้อตกลงพลาซาประสบความสำเร็จตามเป้าหมายนั่นก็คือลดการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ แต่มันก็มีผลลัพธ์ที่ไม่ได้ตั้งใจตามมา ผลลัพธ์ที่โดดเด่นที่สุดคือค่าเงินเยนญี่ปุ่นสูงขึ้นทำให้สินค้าส่งออกของญี่ปุ่นราคาแพงขึ้น และส่งผลให้ความเติบโตทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นถดถอยลง ข้อตกลงพลาซาเป็นสิ่งที่ย้ำเตือนว่าถึงแม้จะเป็นข้อตกลงจากความตั้งใจดีก็อาจส่งผลลัพธ์ที่ไม่คาดฝันได้
เส้นเวลาของเหตุการณ์สำคัญในตลาดสกุลเงิน
เส้นเวลา | เหตุการณ์ |
---|---|
ก่อนประวัติศาสตร์-1875 | ตลาดสกุลเงินในประวัติศาสตร์ |
1875-1939 | ระบบมาตรฐานทองคำ |
1944-1971 | ข้อตกลงเบรตตันวูดส์ |
1971-1973 | ข้อตกลงสมิธโซเนียน |
1985-1987 | ข้อตกลงพลาซา |
1987-ปัจจุบัน | ตลาดสกุลเงินสมัยใหม่ |
ตลาดสกุลเงินในปัจจุบัน
ตลาดสกุลเงินในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และขับเคลื่อนด้วยสิ่งต่างๆ มากมายอย่างปัจจัยความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม แก่นของตลาดเหล่านี้คือแนวคิดอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวซึ่งทำให้สกุลเงินต่างๆ ผันแปรตามความเปลี่ยนแปลงในด้านอุปสงค์และอุปทาน ระบบที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอนี้ได้รับอิทธิพลมาจากการพัฒนาจากทั่วโลก ทั้งแหล่งเงินทุนภายนอก และภูมิรัฐศาสตร์ เช่น การคว่ำบาตร ข้อตกลงทางการค้า และการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยซึ่งส่งผลต่อแต่ละสกุลเงินอย่างมาก แต่ก็ต้องขอบคุณความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและอุปกรณ์สื่อสารที่ทำให้ผู้คนสามารถติดตามแนวโน้มของตลาดสกุลเงินทั่วโลกได้ง่ายดายขึ้นกว่าเดิม การเทรดสกุลเงินสมัยใหม่ในปัจจุบันนี้สร้างโอกาสที่น่าตื่นเต้นให้กับนักเทรดในทุกระดับ – ไม่ว่าคุณจะเป็นนักลงทุนอาชีพ หรือว่าเพิ่งเริ่มการเดินทางสู่อิสรภาพทางการเงิน ถ้าคุณอยากเป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อมที่เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วและมีความสามารถในการเผชิญหน้ากับความยากลำบาก ทำไมคุณไม่ลงมาดำดิ่งไปในตลาดสกุลเงินปัจจุบันไปกับบัญชีเทรดตามตลาดของ Hantec Markets ล่ะ