มันสามารถช่วยคุณระบุสัญญาณซื้อและขายได้ รวมถึงแนวโน้มของราคาตลาดด้วย ในบทความนี้ เราจะมาเรียนรู้วิธีการใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในกลยุทธ์การเทรดของคุณ เราจะมาเรียนรู้เคล็ดลับที่ช่วยให้ใช้มันได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย มาเริ่มกันเลย!
เราจะเริ่มด้วยการอธิบายว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่คืออะไร ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่รูปแบบต่างๆ และดูว่าเราจะคำนวณมันได้ยังไง เราจะมาดูวิธีใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในการวิเคราะห์แนวโน้ม และแนวรับแนวต้าน สุดท้าย เราจะสรุปว่าคุณจะสามารถใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในการเทรดให้มีประสิทธิภาพได้ยังไง
- ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่คืออะไร
- ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่รูปแบบต่างๆ และวิธีคำนวณ
- วิธีการใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในการเทรด
- ข้อสรุปสำคัญเรื่องค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่คืออะไร
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เป็นเครื่องบ่งชี้ทางเทคนิคที่จะช่วยให้ดูพฤติกรรมของราคาได้ง่ายขึ้นด้วยการคัดกรอง “สิ่งรบกวน” จากความผันผวนของราคาที่คาดการณ์ไม่ได้ออกไป มันจะช่วยคำนวณค่าเฉลี่ยของราคาตลาดในช่วงเวลาที่กำหนด ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สามารถใช้ได้กับชุดข้อมูลทุกรูปแบบ ทั้งหุ้น ดัชนีตลาดหุ้น ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์และ Forex ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่มักจะถูกใช้เพื่อระบุแนวโน้มตลาด หรือระดับแนวรับแนวต้าน มันยังสามารถนำไปใช้สร้างสัญญาณซื้อหรือขายได้ด้วย มีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่หลายรูปแบบ ทั้งค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบปกติ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนักและค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล การเลือกรูปแบบค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ เป้าหมายและสไตล์การเทรดของนักเทรด
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่รูปแบบต่างๆ และวิธีคำนวณ
มีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่หลักอยู่สามแบบซึ่งนักเทรดมักจะใช้กันเป็นประจำ:
- ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบปกติ (SMA)
- ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก (WMA)
- ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล (EMA)
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบปกติ (SMA)
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบปกติ (SMA) คำนวณด้วยการรวมราคา n ล่าสุด จากนั้นก็หารด้วย n SMA เป็นคือหนึ่งในเครื่องบ่งชี้ทางเทคนิคที่เป็นที่นิยมที่สุดในหมู่นักเทรดและนักลงทุน
วิธีการคำนวณ
SMA ในช่วง n จะใช้วิธีการคำนวณดังนี้:
SMA = (P1 + P2 + …… + An) / n
โดย Pi คือจุดของข้อมูลในช่วงเวลา ith
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก (WMA)
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก (WMA) เป็นรูปแบบค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่ให้ความสำคัญกับจุดข้อมูลในปัจจุบันมากกว่า ในขณะที่ SMA คำนวณค่าเฉลี่ยจากชุดข้อมูล WMA จะให้น้ำหนักกับแต่ละจุดข้อมูล โดยจุดข้อมูลล่าสุดจะมีน้ำหนักมากที่สุด ทำให้ WMA ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่ทันสมัยมากกว่าซึ่งมีประโยชน์สำหรับการติดตามแนวโน้มตลาด
วิธีการคำนวณ
WMA ในช่วง n จะใช้วิธีการคำนวณดังนี้:
WMA = (P1*W1 + P2*W2 + …… + Pn*Wn)/ n
ซึ่ง Pi และ Wi เป็นจุดข้อมูลในช่วงเวลา ith และน้ำหนักตามลำดับ
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล (EMA)
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล (EMA) เป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่คล้ายคลึงกับ SMA และใกล้เคียงกับ WMA เว้นแต่ว่ามันจะเน้นไปที่ข้อมูลใหม่ล่าสุดมากกว่า แปลว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียลสามารถจับการเปลี่ยนแปลงราคาล่าสุดได้เร็วกว่า ในบางครั้ง EMA ก็ถูกเรียกว่าเป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนักแบบเอ็กซ์โพเนนเชียล การคำนวณ EMA นั้นซับซ้อนกว่า SMA หรือ WMA เล็กน้อย
วิธีการคำนวณ
EMA ในช่วง n จะใช้วิธีการคำนวณดังนี้:
EMA = (C – P) * (2 / (n + 1)) + P
โดย C และ P คือจุดข้อมูลล่าสุดและค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียลของช่วงเวลาก่อนหน้านี้ตามลำดับ (ในช่วงแรกจะใช้ SMA)
วิธีการใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในการเทรด
เราจะมาดูสามวิธีหลักในการใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในการเทรด:
- ทิศทางแนวโน้ม
- แนวรับและแนวต้าน
- จุดตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
ทิศทางแนวโน้ม
ว่าง่ายๆ ก็คือทิศทางของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่ชี้ขึ้น ลง หรือไม่แน่นอนสามารถบอกแนวโน้มพื้นฐานของตลาดได้ ยิ่งค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ยาวเท่าไหร่ จำนวนจุดข้อมูลก็มากขึ้นเท่านั้น และมันจะยิ่งช่วยให้เราคาดการณ์แนวโน้มตลาดในระยะที่ยาวขึ้นได้ ดังนั้นบนกราฟในแต่ละวัน ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ 10 วันจะบอกแนวโน้มในระยะสั้น แต่ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 200 วันจะบอกแนวโน้มในระยะที่ยาวกว่ามาก นอกจากนั้นแล้ว เราก็สามารถดูช่วงเวลาในระยะสั้นได้ อย่างช่วง 5 ถึง 30 นาทีซึ่งมันจะทำให้เราเห็นทิศทางของแนวโน้มระหว่างวัน
แนวรับและแนวต้าน
เราสามารถนำค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่มาใช้เป็นแนวรับและแนวต้านแบบง่ายๆ ได้ เมื่อราคาสูงกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ จะถือว่าเป็นแนวรับ เช่นเดียวกัน ถ้าราคาต่ำลงกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ก็จะถือว่าเป็นแนวต้าน ดังนั้นคุณอาจออกแบบกลยุทธ์การเทรดโดยใส่สัญญาณเวลาที่ราคาสูงกว่าหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในช่วงเวลาของกราฟที่กำหนดเอาไว้ ความยาวของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่และกรอบเวลาในกราฟนั้นขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของคุณ และคุณสามารถใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เป็นแนวรับและแนวต้านและใช้เป็นปัจจัยหลักในกลยุทธ์ของคุณได้ หรือคุณสามารถใช้มันเป็นปัจจัยที่เป็นคุณสมบัติเสริมให้แก่กลยุทธ์ที่ครอบคลุมมากกว่าซึ่งใช้เครื่องบ่งชี้อื่น
จุดตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
จุดตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เกิดขึ้นเมื่อค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่หนึ่งอยู่เหนือหรือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อีกเส้นหนึ่งซึ่งมีความยาวต่างกันและมันสามารถนำมาใช้เป็นสัญญาณบ่งบอกการกลับตัวของแนวโน้มได้ ถ้าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่สั้นกว่า (ค่าจากการคำนวณช่วง n ต่ำ) ตัดขึ้นไปเหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ยาวกว่า (ค่าจากการคำนวณช่วง n สูง) เราสามารถใช้มันเป็นสัญญาณการซื้อได้ และถ้าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่สั้นกว่าตัดลงมาใต้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ยาวกว่า เราก็สามารถใช้มันเป็นสัญญาณการขายได้ ขอย้ำอีกครั้งว่าความยาวของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ทั้งสองและกรอบเวลาของกราฟขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การเทรดส่วนตัวของคุณและควรนำไปทดสอบเพื่อปรับว่าควรใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่ยาวหรือสั้น
ข้อสรุปสำคัญเรื่องค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เป็นหนึ่งในเครื่องบ่งชี้ทางเทคนิคที่มีคนใช้ในการเทรดมากที่สุด ในบทความนี้ เราได้อธิบายว่าค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่คืออะไร ดูค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ทั้งสองรูปแบบและวิธีคำนวณ และเราก็ได้พูดถึงวิธีการใช้มันในการเทรดด้วย ถ้าคุณอยากเรียนรู้เรื่องการวิเคราะห์ทางเทคนิคเพิ่มเติม เข้าไปที่ ศูนย์การเรียนรู้ ได้เลย และถ้าอยากศึกษาเรื่องสัญญาณการเทรดที่มีประโยชน์ อย่าลืมเข้าไปดู บทความอื่นๆของเราล่ะ